แหล่งท่องเที่ยว

ฝั่งต้า-ไชยสถาน

ฝั่งต้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝั่งต้าไชยสถาน” เนื่องจากที่ตั้งของสิ่งมหัศจรรย์นี้ตั้งอยู่ที่บ้านไชยสถาน มีลักษณะคล้ายกับแพะเมืองผี ในจังหวัดแพร่ คือ ภูเขาลูกเตี้ยๆ ได้ถูกกัดเซาะด้วยลมฝน ผ่านเวลามายาวนาน ดินก็ค่อยๆ พังทลายลงไปนั้น มองดูก็คล้ายๆ เสาแหลมๆ จำนวนมากตั้งเรียงรายติดต่อกันเป็นแนวยาวประมาณ 200 เมตร มีความสูงประมาณ 25 เมตร จากพื้นที่ราบ ครอบคลุมเนื้อที่กว่า ไร่ ในพื้นที่รอยต่อของลำน้ำปี้และป่าแม่ยมฝั่งซ้าย-น้ำควรฝั่งซ้ายา หากมองไกลๆ จะคล้ายกับกำแพงขนาดใหญ่ บนยอดของฝั่งต้านี้ยังสามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์ที่สวยงามได้ ใกล้ๆ กันยังมีสระน้ำที่เหมาะมานั่งพักผ่อนหย่อนใจ นั่งชมวิวกำแพงดินได้อย่างสวยงาม นอกจากจะมาเที่ยวฝั่งต้าแล้ว ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนางก็ยังมีน้ำตกธารสวรรค์ที่น่าชมไม่น้อย มาเล่นน้ำพักผ่อนได้สบาย หรือจะไปเดินป่าชมน้ำตกห้วยต้นผึ้งก็เป็นระยะทางสนุกกำลังดี นอกจากนี้ยังเข้าไปเที่ยวต่อในตัวอำเภอเมืองเชียงม่วน ไปเที่ยววัดไทลื้อ หรือไปเที่ยวในอุทยานไดโนเสาร์ตัวแรกของภาคเหนือก็ล้วนจัดเส้นทางขับรถเที่ยวได้ง่ายดาย ออกจากเชียงม่วนไปเที่ยวต่อที่เมืองน่าน หรือจะเข้าเมืองพะเยาก็ระยะทางไม่ไกล

ขณะที่แพะเมืองผีเป็นประติมากรรมเสาดินงานสร้างที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่มานาน จนเดี๋ยวนี้เริ่มจะพังทลายลงไปค่อนข้างมาก ในจังหวัดเดียวกันที่ติดกับแพร่คือจังหวัดพะเยาเอง ก็เกิดประติมากรรมเสาดินขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ เพียงแต่รูปลักษณ์อาจแตกต่างกันตรงที่ฝั่งต้านั้นเป็นกำแพงดินขนาดยักษ์มากกว่าที่จะเป็นเสาดิน แต่ก็น่าเที่ยวเพราะมีการทำเส้นทางเดินชมอย่างดี พร้อมกับจัดสวนได้อย่างสวยงาม หากเปรียบเทียบฝั่งต้ากับแพะเมืองผี หรือเปรียบเทียบผาช่อกับกิ่วเสือเต้นในจังหวัดเชียงใหม่ นับว่าที่ฝั่งต้านั้นมีพื้นที่น้อยกว่ามาก            แต่ก็เป็นธรรมชาติที่แปลกน่าชม แม้ว่าจะไม่ค่อยมีประติมากรรมที่มีรูปร่างโดดเด่นเท่าที่อื่น แต่ก็แปลกที่มองดูแล้วคล้ายกับกำแพงขนาดยักษ์เป็นหน้าผาสูงมองเห็นได้แต่ไกล แถมยังมีการจัดสวนหย่อมให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ร่มรื่นอีกด้วย

การเดินทาง   จากตัวเมืองพะเยาใช้เส้นทางไปอำเภอคำใต้-จุน ก่อนถึงอำเภอคำใต้มีทางแยกขวามือตามทางหลวงหมายเลข 1251 ทางไปอำเภอเชียงม่วนระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร อยู่ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอเชียงม่วนราว กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง เดินทางต่อไปยังฝั่งต้าให้ขับไปบ้านไชยสถาน หมู่ 4

 

ฝายวังจัน

ฝายวังจันตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านนาอ้อม หมู่ที่ 5 ต.ขุนควร อ.ปงจ.พะเยา มีระยะทางห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลขุนควรประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นฝายน้ำล้นขนาดใหญ่กั้นลำน้ำควรลำน้ำสาขาหนึ่งของแม่น้ำยมมีความยาวประมาณ 100 เมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525เพื่อผันน้ำผ่านลำเหมืองเข้าสู่พื้นที่การเกษตรเขตบ้านนาอ้อม ต. ขุนควร และบ้านห้วยขุ่น ต.ควร “ฝายวังจัน” เป็นคำเรียกของคนพื้นเมืองทั่วไป ที่อยู่ในท้องที่ บ้านนาอ้อม และหมู่บ้านใกล้เคียง มีส่วนประกอบของคำ 2 พยางค์ คือ คำว่า “วัง” และ คำว่า  “จัน”        

คำว่า “วัง” ในภาษาคำเมือง หมายถึง คุ้งน้ำ หรือ แอ่งกลางลำน้ำที่มีความลึกมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ในลำน้ำนั้นๆ           

ส่วนคำว่า “จัน” ในภาษาคำเมือง หมายถึงชันหรือ ลาดเอียงค่อนข้างสูง มีคำเมืองอีกคำคือ “จิ้ง” เช่น ฮ่อมจิ้ง หมายถึง ทางชันหรือ หนตางมันจัน ซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับ ทางชันในภาษาไทยกลาง

ฝายวังจัน จึงหมายถึง ฝายที่กั้นอยู่บริเวณวังน้ำ หรือคุ้งน้ำ ที่มีหน้าผาตรงข้างตั้งชันดังนั้น ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในตำบลขุนควร ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือ ปี๋ใหม่เมืองจะมีกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส  ในตำบลกิจกรรมแห่นางสงกรานต์แข่งเรือยาว และรำวง และกิจกรรมอีกหลายอย่างที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดขึ้นเป็นงานประจำปีก็อยากจะขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวแวะเที่ยวฝายวังจัน สำหรับพักผ่อนหย่อนใจหรือไปเล่นน้ำคลายร้อนได้ ณ ฝายวังจันบ้านนาอ้อม ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา 

โครงการหลวงปังค่า

บ้านปังค่า เป็นหมู่บ้านชาวเขาซึ่งประกอบด้วย เผ่าเย้าและม้ง อาชีพหลักคือ ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด กะหล่ำปลี ซึ่งนอกจากรายได้ไม่เพียงพอแล้ว ยังถางป่าเพื่อทำการเกษตร ในปี พ.ศ. 2530 มูลนิธิโครงการหลวง จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่าขึ้น เริ่มต้นโดยกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการบุกเบิกพื้นที่พัฒนาที่ดิน จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ จัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ราษฎร เพื่อยุติการบุกรุกทำลายป่าไม้ จากนั้นส่งเสริมให้ปลูกผลไม้เมืองหนาว โดยในช่วงแรกมีการแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าเย้าและม้ง ปลูกสาลี่ พลับ อาโวคาโด และถั่วแดงหลวง พื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า ตั้งอยู่ที่ บ้านสิบสองพัฒนา ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 660 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขาสูง มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าเมี่ยนและม้ง กิจกรรมการท่องเทียวมีอย่างหลากหลาย ทั้งชมธรรมชาติของวนอุทยานภูลังกา เที่ยวชมชวนพริกหวาน ฟักทองยักษ์ มะเขือเทศแฟนซี ชมวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าเย้าและม้ง ภายในศูนย์ฯมีที่พัก ลานกางเต้นท์ ร้านอาหาร กาแฟโครงการหลวงไว้บริการ

สำหรับการส่งเสริมการปลูกพริกหยวกหวานดังกล่าว เป็นโครงการที่ทางโครงการหลวงปังค่าตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ส่งเสริมให้มีการปลูก เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยในช่วงนี้จะมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตลาดยังมีความต้องการอีกมากนอกจากจะเป็นพืชที่สร้างรายได้แล้ว ยังสามารถเป็นสถานที่ที่ให้ผู้คนสามารถเดินทางมาเที่ยวชมได้ ในช่วงฤดูหนาวนี้หากใครชอบผจญภัยก็มีเส้นทางเดินป่า เพื่อพิชิตยอดดอยภูลังกา ชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกยามเช้า

ภูอานม้า

“ภูอานม้า” ชื่อนี้อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่เมื่อเดินทางมาที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริฯ บ้านหนองห้าแล้ว ถ้าท่านไม่ขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์บนยอดภูอานม้าแล้วนับว่าน่าเสียดายเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสถานที่ ที่มีความสวยงามไม่เป็นรองจากภูชี้ฟ้า และภูลังกาเลย แต่หนทางที่จะไปนั้นต้องอาศัยความอดทนกันหน่อย เพราะเป็นสถานที่ ที่พึ่งค้นพบมาไม่นานนี้เอง ด้วยลักษณะเฉพาะที่ธรรมชาติสรรค์สร้างให้มีความโค้งเว้าระหว่างเขาสองลูกเหมือนรูปอานม้า จึงเป็นที่มาของชื่อ “ภูอานม้า”

ภูอานม้า เสน่ห์ธรรมชาติ การเดินทาง มุ่งหน้าอำเภอเชียงคำ บนเส้นทาง 1148 จนถึงสามแยกบ้านแฮะ ที่ทำการตำรวจตำบลแม่ลาว ระยะทางประมาณ 150 กม.เลี้ยวขวามือ ใช้เส้นทางหลวงชนบท พย.4029 ไปตามเส้นทางบ้านน้ำมิน-บ้านแม่ลาว เลี้ยวซ้ายมือ ขึ้นไปบ้านผาแดงบน-บ้านต้นผึ้ง สู่ภูอานม้า และโครงการบเานเล็กในป่าใหญ่ ระยะทางประมาณ 30 กม. จุดหมายปลายทาง หน่วยต้นผึ้งฯ พื้นที่จัดตั้งแห่งใหม่ในการดูแลรักษาป่า ของ อช.ถ้ำสะเกิน และพื้นที่ในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ บ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา และแหล่งท่องเที่ยว ภูอานม้า ที่มีระดับความสูงอยู่ที่ 1500 เมตร ห่างจากหมู่บ้านไป อีกประมาณ 4-5 กิโล เดินขึ้นภูอีก สามร้อยเมตร เป็นทุ่งหญ้าบนภูเขา มีปลายหน้าผายื่นออกไป บนสันเขา ขวา-ซ้าย เป็นหน้าผา ด้วยลักษณะเฉพาะที่ธรรมชาติสรรค์สร้างให้มีความโค้งเว้าระหว่างเขาสองลูกเหมือนรูปอานม้า จึงเป็นที่มาของชื่อ”ภูอานม้า” สามารถชมวิวทิวทัศน์์ได้ 360 องศา อีกเส้นทาง จากน่าน ทางบ้านหลวง-เชียงม่วน เส้นทาง 1091 ระยะทาง 66 กม.เลี้ยวเข้าเชียงม่วน-ปง 38 กม.จากปงตัดเข้าเส้นทาง 1092 ปง-เชียงคำ 38 กม.ถึงบ้านแฮะใช้เส้นทาง 1148 ไปบ้านตู้ยามตำบลแม่ลาว อีก 3 กม. ถึงสามแแยกตู้ยามบ้านแม่ลาว ใช้เส้นทาง พย.4029ไป ภูอานม้า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา อีกร่วม 30 กม.

มื่อท่านเดินทางมาถึงยอดของภูอานม้า ความเหนื่อยและเมื่อล้าจากการเดินทางก็แทบจะหดหายไปกับความสวยงามและวิวทิวทัศน์ของสถานที่แห่งนี้ ไม่เชื่อก็ลองมาดูแล้วจะรู้ว่าที่นี่เมืองไทย

วนอุทยานภูลังกา

วนอุทยานภูลังกา คือ อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงของอำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหยวนและป่าน้ำลาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยม มีเนื้อที่ประมาณ 7,800 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545  วนอุทยานภูลังกาเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาสันปันน้ำที่มีความสูงตั้งแต่ 900-1,720 เมตร ด้วยลักษณะที่เป็นยอดเขาสลับซับซ้อนนี้เองจึงเหมาะสำหรับนักนิยมธรรมชาติที่ชอบการเดินป่าพิชิตยอดดอยสูง ซึ่งเหมาะสำหรับการชมทิวทัศน์ในช่วงฤดูหนาวเป็นอย่างยิ่ง

ในเขตวนอุทยานภูลังกามียอดดอยที่เชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เส้นทางเดินพิชิตยอดดอยภูลังกาจะผ่านสันดอยต่างๆ ซึ่งทางวนอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางในการเดินป่าระยะทาง 3 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ห้องเรียนธรรมชาติ ซึ่งเป็นสวนสมุนไพร สวนกล้วยไม้ และพันธุ์ไม้หายาก ก่อนจะเดินผ่านป่าก่อโบราณ ซึ่งมีนกมากมายหลายชนิดเหมาะสำหรับการดูนก นอกจากนี้ยังมีทุ่งดอกโคลงเคลงซึ่งจะบานเบ่งสะพรั่งในช่วงปลายฝนต้นหนาวด้วย

เมื่อเริ่มไต่ความสูงขึ้นมาเรื่อยๆ คุณจะผ่านดอยหัวลิงจุดนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงามทั้งพระอาทิตย์ตกและทะเลหมอกยามเช้า หลังจากนั้นจะเดินต่อไปยังภูนมจุดนี้สูงประมาณ 1,600 เมตร เป็นสันเขาแคบๆ ทอดตัวต่อเนื่องมาจากยอดดอยภูลังกา สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้โดยรอบ 360 องศา ชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก หากเดินตามสันเขาขึ้นไปอีกจะถึงจุดสูงสุดที่ยอดดอยภูลังกา ที่ความสูง 1,720 เมตร เป็นสันเขาแคบๆ และหน้าผาสูง มองเห็นทะเลหมอกได้สวยงามในช่วงฤดูหนาว และชมวิวได้ไกลถึงฝั่งลาว

การเดินทาง:จากตัวเมืองพะเยาใช้ทางหลวงหมายเลข 1092 ถนนสายพะเยา-ปง ระยะทาง 104 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอเชียงคำเดินทางต่อไปอีกระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1148 แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางทิศเหนืออีก 12 กิโลเมตร จะถึงวนอุทยานฯ เส้นทางรถยนต์ในวนอุทยานฯ เป็นทางลูกรังดินแดงขึ้นเขาสูงชันและแคบคดเคี้ยว รถยนต์ธรรมดาจะขึ้นมาได้ถึงห้องเรียนธรรมชาติเท่านั้น หากขึ้นสู่ยอดเขาจะต้องใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ

ช่วงเวลาท่องเที่ยว:ฤดูหนาว

สิ่งอำนวยความสะดวก:ปัจจุบันวนอุทยานภูลังกา มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยวบนยอดภูประมาณ 5 หลัง พร้อมห้องน้ำ และลานกางเต็นท์ไว้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์และอุปกรณ์ในการแค้มป์ปิ้งมาเอง อุปกรณ์ส่องสว่าง เพราะบนยอดภูไม่มีไฟฟ้า รวมทั้งอาหาร และเครื่องดื่ม

ติดต่อ-สอบถาม:วนอุทยานภูลังกา โทรศัพท์ 081-883-0307, 053-711-402

บ่อสิบสอง

ป่าบ่อสิบสอง บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ 16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา ตั้งอยู่ระหว่าง กิ่วห้วยเกี๋ยง กับ กิ่วหม้อต่อม บนสันดอยด้วน ลักษณะเป็นดอยทราย ในสมัยอาณาจักรภูกามยาวได้ใช้หินทรายบริเวณนี้ไปก่อสร้างโบราณวัตถุและแกะสลักพระพุทธรูป ปากบ่อสิบสองมีลอยลับคมมีดหอกดาบของไพร่พลสมัยนั้น และมีบัลลังค์หิน ซึ่งน่าจะเป็นที่นั่งของพระยาเจี๋ยง หรือพ่อขุนจอมธรรม

การเดินทางมุ่งสู่ ป่าบ่อสิบสองนั้น ชาวบ้านใช้รถจักรยานยนต์หรือรถโฟร์วิลในการเดินทาง เพราะเป็นการเดินทางที่สะดวกและคล่องตัวที่สุดในการเดินทางไปสู่บ่อสิบสอง หลังจากนั้นก็เป็นการเดินเข้าป่าตามเส้นทาง ซึ่งการมาสถานที่ท่องเที่ยวแบบนี้ ถือว่าเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว และนักเดินทางที่ชอบการผจญภัยมากเลยทีเดียว เมื่อขึ้นไปถึงก็จะพบร่องรอยประวัติศาสตร์มากมาย สาเหตุที่เรียกว่าบ่อสิบสองนั้น เพราะว่าบริเวณพื้นที่หินทรายขนาดใหญ่ได้พบบ่อเล็กบ่อใหญ่ ลึกบ้างตื้นบ้าง จำนวน 12 บ่อ และถ้าเดินสำรวจบริเวณรอบๆ จะพบบ่อแบบนี้อยู่กระจัดกระจายตามก้อนหินทรายน้อยใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของเมืองพะเยาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ได้ศึกษา ให้เกิดความตระหนักและเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นคนเมืองพะเยา

สำหรับเส้นทางการเดินทางไป บ่อสิบสองใช้เส้นทางถนนหลังโรงพยาบาลพะเยาราม ป่าแดง ห้วยบง ถ้ามาจากโรงพยาบาลพะเยารามจะอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 6-7 สังเกตโรงงานทางซ้ายมือไปอีกประมาณสามสี่เมตรจะมีป้ายบอกทางเข้าบ่อสิบสองขวามือ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปศึกษาเรียนรู้ อยากให้เที่ยวควบคู่กับการอนุรักษ์ไม่ขีดเขียนทำลายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ไม่หยิบเอาก้อนหิน หรือสิ่งของต่างๆ ในสถานที่ออกมา ควรเก็บเอาเฉพาะภาพและความประทับใจออกมา เพื่อให้สถานที่นี้คงอยู่แบบนี้ตลอดไป

Cr: พะเยา 108 และ ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม และขอขอบคุณรูปสวยๆจาก  น้องมะปราง www.facebook.com/lovelypinkmix